เมนู

องค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอก
ทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป
ดังนี้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้น
เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
ธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้
บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พ. ดูก่อนเสนิยะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังการบรรพชาอุปสม
บทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นต้องอยู่ปริวาส 4 เดือนก่อน ต่อล่วง 4 เดือน ภิกษุ
ทั้งหลาย มีจิตอันอัญญเดียรถีย์ให้ยินดีแล้ว จึงจะให้บรรพชาอุปสมบทเพื่อ
ความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่า เราทราบความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้.

ติตถิยปริวาส


[90] เส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์มาก่อน
หวังการบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ ต้องอยู่ปริวาส 4 เดือนก่อน
ต่อล่วง 4 เดือน ภิกษุมีจิตอันอัญญเดียรถีย์ให้ยินดีแล้วจึงให้บรรพชาอุปสมบท
เพื่อความเป็นภิกษุไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสถึง 4 ปี ต่อล่วง 4 ปี ภิกษุ
ทั้งหลายมีจิตอันข้าพระองค์ให้ยินดีแล้ว จึงให้ข้าพระองค์บรรพชาอุปสมบท
เพื่อความเป็นภิกษุเถิด.
เสนิยอเจละผู้พระพฤติกุกกุรวัตร ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เมื่อท่านเสนิยะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่
แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ ไม่นานนัก ทำให้
แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้มีความต้อง

การ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ใน
ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ท่านพระเสนิยะได้เป็นพระ-
อรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.
จบกุกกุโรวาทสูตรที่ 7

7. อรรถกถากุกกุโรวาทสูตร

1
กุกกุโรวาทสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้ฟังมา
แล้วอย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกลิเยสุ คือชนบทที่มีชื่ออย่างนี้.
โกลิยะนั้นเป็นชนบทหนึ่ง เรียกกันอย่างนี้ก็เพราะว่าเป็นถิ่นที่อยู่ของเหล่าพระ-
ราชกุมารฝ่ายโกลิยวงศ์ซึ่งดำรงอยู่ ณ นครโกลิยะ ในชนบทชื่อ โกลิยะ นั้น.
คำว่า หลิทฺทวสนํ ความว่า คนทั้งหลายนุ่งห่มผ้าสีเหลือง เล่นนักขัตฤกษ์
ในคราวสร้างนิคมนั้น สิ้นสุดการเล่นนักขัตฤกษ์แล้ว พวกเขาก็ยกชื่อนิคมขนาน
นามว่า หลิททวสนะ. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำหลิททวสนะ
นิคมนั้นให้เป็นโคจรคาม ประทับอยู่. ก็ที่อยู่ในหลิททวสนนิคมนั้น ยังไม่ได้
กำหนดกันไว้ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
อยู่ ณ เสนาสนะอันสมควรแก่พระพุทธะทั้งหลาย. คำว่า โควตฺติโก ความว่า
ผู้สมาทานโควัตร การพระพฤติอย่างโค คือตั้งเขาทั้งสองเขาบนศีรษะ ผูกหาง

1. อรรถกถาเรียก กุกกุรวัตติยสตร.